กฎธรรมชาติ ๒ กฎ

       พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร  อันนี้สำคัญ  พระพุทธเจ้าตรัสรู้กฎธรรมชาติ ๒ กฎ คือ กฎไตรลักษณ์อิทัปปัจจยตา 

       ท่านตรัสรู้ว่า โลก จักรวาลและสิ่งมีชีวิตทั้งปวง เป็นธรรมชาติ  ธรรมชาติทั้งปวง ลงอยู่ในกฎธรรมชาติ ๒ กฎ
       กฎข้อแรก คือ กฎไตรลักษณ์  “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” หรือ “เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป”
       *วัตถุสิ่งของในโลกนี้  “ใหม่ เก่า แตกสลาย”
       *สิ่งที่มีชีวิต สัตว์บุคคล  “หนุ่ม แก่ ตาย”
       กฎข้อที่สอง คือ กฎของเหตุปัจจัย หรือ อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท  ในโลกนี้ไม่มีอะไรบังเอิญ  ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาลอย ๆ  เวรกรรมมีจริง, เหตุตรงผลเสมอ
       เพราะฉะนั้น กฎธรรมชาติ ๒ กฎนี้ มันคือ ความจริงของธรรมชาติทั้งปวง

       เพราะโลกและชีวิต วัตถุสิ่งของ สัตว์บุคคล เป็นธรรมชาติทั้งหมด  ธรรมชาติทั้งหมดมันต้องเกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราว  “ให้เกิดก็เกิด  ให้ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่  ให้แตกสลายก็แตกสลาย” 

       ถ้าเราไม่ศึกษาเรียนรู้  เราก็ไม่รู้เลยว่า  “พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร”   แม้แต่ศึกษาเรียนรู้แล้ว ก็ยังไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้กฎธรรมชาติ ๒ ก
       ไปรู้ว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ อริยสัจ ๔   *ใช่... มันเป็นผล*  ก่อนที่จะรู้อริยสัจ ๔ นั้น ท่านตรัสรู้ธรรมชาติ  กฎธรรมชาติ ๒ กฎก่อน 
       ท่านว่าตัวเราและโลกนี้เป็นธรรมชาติ  ธรรมชาติทั้งหมด ลงอยู่ในกฎธรรมชาติ ๒ กฎ ที่พวกเราสรุปกฎธรรมชาติ ๒ กฎ เหลือแต่ “ไม่เที่ยงเกิดดับ”
       ไม่เที่ยง คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป 
เกิดดับคือ เกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมชั่วคราวแตกสลาย  สรุปว่า “ไม่เที่ยงเกิดดับ”
       พระพุทธเจ้าก็สรุปกฎธรรมชาติ ๒ กฎนี้ เหลือคำว่า  “ไม่เที่ยง”  ท่านจะเห็นว่าตอนสุดท้าย  ที่จะสอนคนให้บรรลุมรรคผลนิพพาน  อย่างท่านสอนราหุล ท่านก็เอาขันธ์ ๕  มาถาม ราหุลว่า  
       รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง,  เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง,  สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง,  สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง,  วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง   
       ราหุลก็ตอบว่า “ไม่เที่ยง”  เห็นอย่างนี้เรียกว่า เห็นโลกและชีวิต  เห็นกาย เวทนาจิตธรรม  เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ถูกต้อง

       เพราะฉะนั้น คำว่า “ไม่เที่ยงเกิดดับ คือ สัมมาทิฏฐิ”  คือ ความเห็นชอบ  ถ้าเรามีความเห็นชอบหรือ สัมมาทิฏฐิ  แต่ทุกวันนี้ เรียกว่า ปัญญา  
       ปัญญา คือ ความรู้ที่ดับทุกข์ได้  ต้องแปลอีกนะ   ถ้าปัญญาอย่างเดียว  ปัญญามันเป็นธรรมชาติ  ถ้าเป็นธรรมชาติต้องมี ๒ ด้านเสมอ  คือ
       มีความรู้ที่ดับทุกข์ได้  กับ ความรู้ที่ดับทุกข์ไม่ได้
 

       ความรู้ที่ดับทุกข์ไม่ได้ คือ ความรู้ทางโลกทั้งปวง ที่เราเรียนอยู่ทุกวันนี้
       ความรู้ที่ดับทุกข์ได้ คือ กฎธรรมชาติ ๒ กฎ ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้  
       อันนี้เราต้องแยกออกก่อนว่า ตัวเรานี้  ถ้าเราจะหนีทุกข์ไปหาสุขสำเร็จในชีวิตเรา  เราต้องเข้าใจว่า  อันไหนทุกข์ อันไหนสุข  อันไหนคือความรู้  อันไหนคือความไม่รู้  
       เราต้องเข้าใจก่อนว่า  อันไหนเป็นสัมมาทิฎฐิ  อันไหนเป็นมิจฉาทิฎฐิ  เราต้องเข้าใจ  เพราะพระพุทธเจ้าท่านสอนให้เรารู้เรื่องนี้ก่อน 

       ว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้  เรื่องกฎธรรมชาติ ๒ กฎ  กฎธรรมชาติ ๒ กฎ เป็นพระธรรมส่วนเป็นเหตุทั้งหมด ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ในพระไตรปิฎก ๙๙%  เป็นผลการตรัสรู้ 
       ทำไมถึงว่าเป็นผลการตรัสรู้  เพราะตอนที่พระพุทธเจ้า เป็นเจ้าชายสิทธัตถะอยู่นั้น  ท่านสอนไม่ได้นะ ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์นี้
       ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์นี้  ท่านสอนหลังจากได้ตรัสรู้  อะไรที่พระองค์ท่านตรัสรู้ อันนั้นคือ เป็นพระธรรม ส่วนที่เป็นเหตุ ของการตรัสรู้  
       เพราะฉะนั้น เวลาจะเอาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไปปฏิบัติ  แล้วต้องแยกได้ว่า  อันไหนเป็นธรรมส่วนที่เป็นเหตุของการตรัสรู้  อันไหนเป็นธรรมส่วนที่เป็นผลของการตรัสรู้ 
       อย่างทุกวันนี้ ในพระไตรปิฎก  พระพุทธเจ้าสอนพระอรหันต์ สอนพระอริยบุคคล  ให้เธอปล่อยวาง  ปลง  ให้ละคลาย  สิ่งที่มากระทบสัมผัส  ละคลาย ปล่อยวาง ปลงเป็นผล 
       เหตุของมันคือ คนเราจะทิ้งรองเท้าเก่าเราได้  แล้วต้องรู้ว่ารองเท้าเก่า  ต้องเห็นความจริงมันก่อน  เราจะทิ้งเสื้อผ้าได้  ก็ต้องเห็นเสื้อผ้ามันเก่า  มันคือ ปัญญา  ปัญญาต้องมาก่อน  ก็ปัญญาเห็นความจริง  มันถึงจะละคลายได้ 
       แล้วปัญญาอะไรล่ะ  ที่เห็นความจริงจะละคลายได้  ปัญญาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ กฎธรรมชาติ ๒ กฎ หรือไม่เที่ยงเกิดดับ  ไม่เที่ยงเกิดดับนั่นแหละ คือตัวปัญญา คือ ตัวพระพุทธเจ้าเลยก็ว่าได้ 
       เพราะกฎธรรมชาติ ๒ กฎ ตั้งเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าก็เอากฎธรรมชาติ ๒ กฎ ไปสอนคนทั่วไป  คนทั่วไปปฏิบัติแล้วก็ดับทุกข์ได้  เหมือนกับพระพุทธเจ้า ตามพระพุทธเจ้า  ก็เลยเป็นสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า  
       เพราะฉะนั้น ไม่เที่ยงเกิดดับ คือ กฎธรรมชาติ ๒ กฎ ตั้งพระพุทธเจ้า ตั้งเจ้าชายสิทธัตถะเป็นพระพุทธเจ้า   พระพุทธเจ้าไม่มีใครตั้งท่านนะ พระธรรมตั้ง  พระสงฆ์ ก็พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ไม่เที่ยงเกิดดับ กฎธรรมชาติ ๒ กฎตั้งคนเป็นพระสงฆ์  

       เพราะฉะนั้นคำว่า ไม่เที่ยงเกิดดับ หมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์     
       ถ้าเราสรุปได้อย่างนี้ก็ง่ายขึ้น  พระพุทธเจ้าสอนเราว่า ให้เอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง  พุทธังสะระณังคัจฉามิ  ธัมมังสะระณังคัจฉามิ  สังฆังสะระณังคัจฉามิ  ทุติตะติ ๓ ครั้ง  ให้เอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง 
       ถ้าเราไม่รู้ว่า  เราจะเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งได้อย่างไร  พระพุทธเจ้าคือใคร  คือ ไม่เที่ยงเกิดดับ  พระธรรมคือใคร คือไม่เที่ยงเกิดดับ  พระสงฆ์คือใคร  คือ ไม่เที่ยงเกิดดับ
       เราเข้าใจถูกอย่างนี้ก่อนนะ  เราถึงเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งได้  ถ้าไม่งั้นเราก็จะเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ไปอ้อนวอน 
       อย่างทุกวันนี้ ก็เอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ไปอ้อนวอน  เห็นพระพุทธรูป ก็ยกมือไหว้ ขอพระพุทธรูปช่วยอย่างนั้น ช่วยอย่างนี้  ขอประสบความสำเร็จ อย่างนั้นอย่างนี้  อันนั้นไม่ใช่เอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งนะ    เป็นที่อ้อนวอน ผิดล่ะ  
       ถ้าเอาเป็นที่พึ่ง ไปที่ไหนก็มีไม่เที่ยงเกิดดับ  เดินก็ไม่เที่ยงเกิดดับ  นอนก็ไม่เที่ยงเกิดดับ  นั่งก็ไม่เที่ยงเกิดดับ  ไปไหนมาไหนทำอะไร ก็ไม่เที่ยงเกิดดับ  อันนี้หมายความว่า เราเอาพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า เป็นที่พึ่งที่อาศัย 
       อันนี้ในฐานะที่เราเป็นสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า หรือ เป็นอุบาสกอุบาสิกา ที่เป็นสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า  เรียกว่า สาวกสังโฆ   สาวกสังโฆหมายถึง อุบาสกอุบาสิกา และพระอริยะเจ้าที่ได้เป็นอริยะบุคคล   อริยะบุคคลตั้งแต่โสดาปฏิมรรคขึ้นไป ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา  ก็เป็นอุบาสกอุบาสิกาที่เป็นสาวกสังโฆ  แล้วถ้าเป็นพระก็เป็นพระอริยะเจ้า  อย่างนี้เป็นต้น    

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้