อริยสัจ ๔ ตอนที่ ๒

เมื่อท่านเห็น อริยสัจ ๔ ถึง ๓ รอบ อย่างนี้แล้ว

ท่านก็เห็นว่าไม่มี มนุษย์ พรหม มาร ที่ไหนคัดค้านได้

ท่านก็เอามาสอนปัญจวัคคีย์

ท่านไปหา ปัญจวัคคีย์ ท่านบอกว่า
ดูกรภิกษุ  ภิกษุไม่ควรไปเกี่ยวข้องสุดโต่งทั้ง ๒ ด้าน
ด้านหนึ่ง กามสุขัลลิกานุโยค คือ ความพอใจ แปลว่า โลภ

และอีกด้าน อัตตกิลมถานุโยค คือ ไม่พอใจ แปลว่า โกรธ
ท่านห้ามไปเกี่ยวข้อง... แล้วท่านก็ไม่ได้บอกว่า... 
เราจะไปที่ไหนละ แล้วจะทำอย่างไร?

ใน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร บอกว่า 
ตถาคต ตรัสรู้... มรรคมีองค์ ๘ เกิดขึ้นทันที 

คือ หลักสายกลาง 

เมื่อท่านเห็นหลักสายกลางแล้ว 
ท่านก็เห็น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค 
เมื่อหลักสายกลางเกิดขึ้น....

โพธิปัก ๓๗ ประการ ก็เกิดขึ้นในตัวท่านแล้ว
ท่านก็แจ่มแจ้งใน ทุกข์ สมุทัย  ว่า โลภ โกรธ คือทุกข์

และท่านว่า อริยสัจ ๔ มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ทุกข์ ถ้าแปลบาลี เป็นไทย, ไทยเป็นบาลี

ว่า บีบคั้น คับข้อง กดดัน >> เอาไปปฏิบัติไม่ได้.
ทุกข์ อริยสัจ ๔ ต้องเอามาดูว่า
ทุกข์ในอริยสัจ ๔ นี้คือ ทุกข์ ของคนนะ
เพราะทุกข์ของคน พระพุทธเจ้าเป็น > คน
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้  ท่านก็รู้อริยสัจ ๔ รู้ทุกข์ของคน
แล้ว  "ทุกข์" มันเกิดที่ไหนละ?
มันเกิดที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดเพราะตามไม่ทัน
เราไปหลง พอใจ ไม่พอใจ กับสิ่งที่มากระสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

พอใจ แปลว่า โลภ / ไม่พอใจ แปลว่า โกรธ
โลภ โกรธ นี้คือ ทุกข์ในอริยสัจ ๔ แล้วไป > หลง
หลง แปลว่า ตามไม่ทันสิ่งที่มากระทบสัมผัส คือ สมุทัย
แปลว่า ตามไม่ทันสิ่งที่มากระทบสัมผัสที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ตามความเป็นจริงของโลกและชีวิต

ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้

ตามไม่ทันคือ หลง/  โลภ โกรธ คือ ทุกข์
หลง คือ สมุทัย/  แล้วนิโรธ แปลว่าการดับทุกข์
แล้วทุกข์ มันเกิดที่ไหน?  เกิดที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
แล้วก็ดับมันได้ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่นกัน
จะดับได้ ก็ต้องตามมันทัน >  ถ้าตามไม่ทัน เป็นสมุทัย
เพราะนิโรธ แปลว่า ตามทัน ดับทุกข์ได้
มรรค คือ ตามทันเป็นประจำ >  เมื่อรู้ว่า นิโรธ คือตามทัน
และดับทุกข์ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ถ้าไม่ดูต่อไปอีกก็ไม่รู้ว่า เอาอะไร? มาตามทัน

ตาเห็นรูป ตามทัน /หูได้ยินเสียง ตามทัน
มันก็ไม่ใช่!  แล้วพระพุทธเจ้าเอาอะไร? มาตามทัน...
พระพุทธเจ้าเอา กฎธรรมชาติ ๒ กฎไปตามทัน

เหตุผล
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ กฎธรรมชาติ ๒ กฎนี้ ท่านดับทุกข์ของท่าน
ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของท่านทันที เป็น

สมุจเฉท (ตัดขาดไม่เกิดขึ้นอีก)

เพราะทุกข์ของท่านเกิดที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ทุกข์ของเราก็เกิด ที่นี่ เช่นกัน
ทุกข์ของคนเรา คือ ความเชื่อ คือ ความหลง
หลงเชื่อว่า เป็นอย่างนั้น อย่างนี้

ถ้าเราจะตามทัน เหมือนพระพุทธเจ้า

คือ เอาความจริงไม่เที่ยงเกิดดับ ไปตามทัน

พระพุทธเจ้ารู้ความจริงกฎธรรมชาติ ๒ กฎ
เอาไปตามทันที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ดับทุกข์ เรียกว่า นิโรธ  ท่านรู้อย่างนี้
พอท่านจะรู้ ญาณปัญญา แสงสว่าง  เกิดขึ้นที่ตัวท่าน
ท่านก็เห็นทะลุปรุโปร่ง บาปอกุศลของคนเรานี้

มันเกิดขึ้นที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วมันมาเก็บไว้ในใจ
แล้วมันจะตามทันที่ไหนล่ะ

ตามทันที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ...
กรรมเก่าที่เราเก็บไว้ มันจะตามทันที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ตามมาให้ผลที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ถ้าเราตามมันไม่ทัน
เราจะไปหลง พอใจ ไม่พอใจ บาปอกุศลก็เกิดขึ้น
เสียงด่า กระทบหู เราตามทัน คือ เสียงด่าไม่เที่ยงเกิดดับ
ตัวฉันไม่เที่ยงเกิดดับ  ก็จบที่หู.... นี้คือตามทัน

พระพุทธเจ้าว่า กรรมเก่ามันจะมาให้ผลที่....
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

เราจะหยุด กรรมเก่าเราได้อย่างไร?
นั้นคือเราจะต้อง  **ตามมันทันเป็นประจำ**
การตามทันเป็นประจำเรียกว่า *ทาง* หรือ *มรรค*
เมื่อเราตามทันเป็นประจำแล้ว...

เราก็ดับทุกข์ สมุทัย ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราได้...
เมื่อผม ได้ศึกษาเรียนรู้อย่างนี่ว่า  โลภ โกรธ หลง เป็นทุกข์
อริยสัจ ๔  ตามไม่ทันก็เป็น "หลง" เป็นสมุทัย
ถ้าตามทันเป็น นิโรธ/  แล้วเอาอะไร? มาตามทัน
เอากฎธรรมชาติ ๒ กฎมาตามทัน (ไตรลักษณ์ / อิทัปปัจจยตา)
แต่ทุกข์ มันไม่เคยหยุด  ตามทันครั้งเดียวแล้วจบ ก็ไม่ใช่...
มันมาทุกลมหายใจ ตลอดชีวิตของเรา

จึงต้องตามทันเป็นประจำ เรียกว่า *มรรค*
พอผมรู้ว่า ตามทันเป็นประจำ (ถ้าไม่ศึกษาเรียนรู้ให้รอบคอบ)
จะตามทันมันได้อย่างไร? 

อะไรคือ ไปตามทัน
ข้อมูลเก่าเรา (พอใจ ไม่พอใจ) ไม่มีทัน 

ต้องใส่ข้อมูลใหม่
ข้อมูล *ไม่เที่ยงเกิดดับ* ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เข้าไปเป็นข้อมูลใหม่

ฉะนั้นตามทันจึงต้องมีเป็นประจำ  *เราสั่งตัวเองไม่ได้*
คนที่จะตามทันสิ่งที่มากระทบสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ภาษาพระว่า *จิต* มันจะลาก เจตสิกไปด้วย

เอาไปรับ การกระทบสัมผัส
เจตสิก คือ สัญญาความจำที่เราใส่ไป...
พอผมเจาะ อริยสัจ ๔ ได้อย่างนี้แล้ว ผมโล่งเลย!
เพราะ *มรรค* คือ ตามทันเป็นประจำ
ตามทันอย่างไร?
คือ การท่องจำให้เก็บเป็นสัญญาความจำ
ผมจึงสว่างโล่งเลย ว่า

ท่องจำ คือปฏิปทา 

คือการนำเอาพระธรรมคำสอนพระพุทธเจ้า ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ไปปฏิบัติ
ฉะนั้นการ *ท่องจำ*  คือ  HOW TO 
ท่องไม่เที่ยงเกิดดับ คือ  ปฏิปทา 

ถ้าเราไม่ใส่ข้อมูลใหม่นี้ เราจะตามไม่ทัน!
การจะตามทันต้อง *ท่อง* (ท่อง คือโอปนยิโก ไม่มีใครแปลออก)
ถ้าไม่ "ท่องจำ" เราจะไม่มี

เหมือนสูตรคูณ เราท่องแม่ ๒-๑๒
เราจำได้แค่นี้ แม่ ๑๓-๒๕ เราไม่ได้ใส่ (ท่อง) จะรู้ได้อย่างไร?
จึงมีแต่ข้อมูลสร้างทุกข์  /ข้อมูลสร้างสุขที่จะไปดับทุกข์มันไม่มี!
แล้วจะทำให้มันมีได้อย่างไร?  << HOW TO >> 
ท่องจำเก็บไว้  ผมจึงสอนท่านให้ท่องจำ

คือปฏิบัติตาม...  อริยสัจ ๔ ครบ

ท่องจำ เป็นมรรค/  ตามทันแล้วเป็น นิโรธ/  ดับทุกข์คือ สมุทัยครบ
ท่องไม่เที่ยงเกิดดับ ตามทัน เป็น นิโรธ

เมื่อนิโรธเกิดขึ้น ก็ดับทุกข์สมุทัยได้

พวกเราถึงได้ "อริยบุคคล"

เหตุผลที่ผมอธิบายให้ท่านวันนี้ ถ้าท่านไม่ท่อง ท่านก็ไม่มีข้อมูล
แล้วก็ตามมันไม่ทัน/ เมื่อตามไม่ทัน ก็ไปหลง สมุทัย
ไปหลง สร้างโลภ สร้างโกรธ ตามมา

ทุกวันนี้ถ้าเรา
ไม่ท่อง เราสร้างทุกข์ สร้างสมุทัย ให้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจตลอดเวลา

นี้คือ อริยสัจ ๔ 

ฉะนั้นการท่องจำ เป็น How to
อริยสัจ ๔   ๑,๔๐๐ ปี ไม่มีใครเอาไปใช้ ปฏิบัติดับทุกข์ได้
มีใครถามว่า  พวกเราเป็นอริยบุคคล ดับทุกข์ได้อย่างไร?
ตอบได้เลย  *ดับทุกข์ได้คือ ท่องจำ*
การท่องจำไม่เที่ยงเกิดดับ คือ 
การปฏิบัติตามมรรคอริยมรรค/ มรรคมีองค์ ๘ เกิดขึ้น
เมื่อมรรคมีองค์ ๘ เกิดขึ้น/  โพธิปัก ๓๗ ประการก็เกิดขึ้น
ก็ดับสังโยชน์ ๑๐ ได้ทั้งหมดที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ถ้าไม่ท่องเราจะไม่มีข้อมูลใหม่
จะมีแต่ข้อมูลเก่าที่สร้างทุกข์....
ถ้าเราท่อง เราก็ตามทันเป็นประจำ
การท่องจำในอริยสัจ ๔ เรียกว่า มรรคปฏิปทา
ทุกคนจะเรียกเป็นภาษาว่า ***ทางดับทุกข์***
นักปราชญ์ราชบัณฑิต ไม่ได้ตีความ หรือขยายความได้แจ่มแจ้งว่า ทางดับทุกข์นั้นทำอย่างไร?
ถ้าไม่รู้ทุกข์  ไม่รู้สมุทัย ก็ไม่รู้ นิโรธ ไม่รู้มรรค
ที่ผ่านมาไม่มีใครรู้นะ....

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้