มรรคมีองค์แปด

มรรค (สันสกฤต: มรฺค; บาลี: มคฺค) คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เป็นหนึ่งในอริยสัจ 4 จึงเรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ

ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นทางสายกลาง[1] คือเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น[2]

ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้[3]

สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) หมายถึง ความรู้ในอริยสัจ 4
สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) หมายถึง ความคิดในการออกจากกาม ความไม่พยาบาท และการไม่เบียดเบียน
สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ
สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง) หมายถึง เจตนาละเว้นจากการฆ่า โจรกรรม และการประพฤติผิดในกาม
สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากมิจฉาชีพ การละเว้นจากอาชีพฆ่าสัตว์ อาชีพที่เบียดเบียนผู้อื่น
สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) หมายถึง สัมมัปปธาน 4 คือ ความพยายามป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ทำกุศลที่ยังไม่เกิด และดำรงรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) หมายถึง สติปัฏฐาน 4
สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิที่ถูกต้อง) หมายถึง ฌาน 4
เมื่อเทียบกับหลักไตรสิกขา องค์มรรคข้อ 1-2 เป็นปัญญา ข้อ 3-4-5 เป็นศีล และข้อ 6-7-8 เป็นสมาธิ

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว 

พระองค์ให้เอา "ปัญญา" ขึ้นก่อน  

เมื่อมี "ปัญญา" แล้ว จะรู้ผิด รู้ถูก รู้ชั่ว รู้ดี

    “ศีล” ก็เกิดขึ้น ตามมา

    เมื่อศีลเกิดขึ้น จิตใจก็สงบ  ผ่องใส สมาธิเกิด

จะเห็นได้ว่า “ศีล” “สมาธิ” เป็นผลพลอยได้

    ที่เกิดจาก ปัญญาก่อน เรียกว่า ‎สัมมามรรค

สมาธิ  เป็นปัจจัยของ ความสงบ

วิปัสสนา เป็นปัจจัยให้เกิด “ปัญญา”

“ศีล สมาธิ ปัญญา” เป็นคำสอนของศาสนาพราหมณ์

....หลังจากที่พระพุทธเจ้า  ออกบวชครั้งแรก

    พระองค์ได้ไปศึกษาเรียนรู้กับ  อาจารย์ที่เป็นพราหมณ์

    จนได้บรรลุฌาน สูงสุด ที่เรียกว่า #‎ฌานอภิญญา#

    หูทิพย์ ตาทิพย์ เหาะเหิน เดินอากาศได้...

    แต่พระองค์ไม่สามารถ #‎ดับทุกข์ไม่ได้#

พระองค์เห็นว่า  ไม่ใช่ทางดับทุกข์

    พระองค์จึงลาอาจารย์ทั้งสอง  มาศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวพระองค์เอง

ด้วยการลองผิดลองถูก ....จนได้เปลี่ยนวิธีปฏิบัติ

เป็น  ‎วิปัสสนาภาวนา

โดยการพิจารณาความจริงของธรรมชาติทั้งหมด

ในที่สุดก็  ‎ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

กฎธรรมชาติ ๒ กฎ คือ...

**กฎที่ ๑. ‎ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา (เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป)

    ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้  หรือโลกไหน ๆ 

    รวมทั้งชีวิตของเรา ทั้งหมด  อยู่ในกฎนี้...

**และกฎที่ ๒. กฎของเหตุปัจจัย หรือ อิทัปปัจจยตาปกิจจสมุปบาท

    ในโลกนี้หรือโลกไหน ๆ รวมทั้งชีวิตของคนเรา 

    ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาลอย ๆ หรือบังเอิญ

    มีเหตุปัจจัย มาประชุมกันชั่วคราว 

    ให้เกิด ก็เกิด ให้ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่

    ให้แตกสลาย ก็แตกสลาย 

    นี่คือความจริงของโลกและชีวิต  ข้อที่ ๒...

**สรุป กฎธรรมชาติ ๒ กฎนี้ว่า #‎ไม่เที่ยงเกิดดับ# 

    “ไม่เที่ยงเกิดดับ” คือกฎธรรมชาติ ๒ กฎ

    ที่ตั้ง เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระพุทธเจ้า

ซึ่งพระองค์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง...

    พระองค์จึงได้ เรียงลำดับองค์ธรรม คือ

การศึกษาฝึกปฏิบัติธรรมใหม่ว่า "ปัญญา ศีล สมาธิ"

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้