อริยสัจ ๔ ตอนที่ ๑
ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมชาติทั้งหมด
ตัวเราก็เป็นธรรมชาติทั้งหมด
หน้าตา ผิวพรรณ แขน ขา มือ เท้า เส้นผม ฯลฯ
มันเป็นธรรมชาติทั้งหมด
เรา ตัวเรา ที่เป็นธรรมชาติทั้งหมด
มาฝึกฝนตนเอง ให้ดับทุกข์ได้อย่างไร?
ตัวท่านมีอุปกรณ์ เพียบพร้อม ในตัวท่าน
เป็นอุปกรณ์พร้อมที่สมบูรณ์ มีสิ่งแวดล้อม ให้ฝึกในตัวท่านครบ
สิ่งแวดล้อมได้ทั้งหมดเลย ถนนหนทาง บ้าน
ต้นไม้ ศาลา สิ่งของเครื่องใช้ เสื้อผ้า รถยนต์ฯลฯ
ทั้งหมดเป็นธรรมชาติหมดเลย เราเอาธรรมชาติทั้งหมดนี้ มาฝึกฝนตนเองได้อย่างไร?
พระพุทธเจ้าว่า ถ้าเราเห็นธรรมชาติตามความเป็นจริง
ว่าเรา หนุ่ม แก่ ตาย
แล้วเห็นธรรมชาติภายนอกตัวเรานั้น ใหม่ เก่า แตกสลาย
เมื่อเรารู้ความจริง เป็นธรรมชาติอย่างนี้ หรือสรุปว่า "ไม่เที่ยงเกิดดับ"
แล้วเราเอา "ไม่เที่ยงเกิดดับ" ที่เป็นธรรมชาตินี้
มาเป็น เทคโนโลยี ใช้ดับทุกข์ของเราได้อย่างไร?
ถ้าเรารู้พระธรรมของพระพุทธเจ้า
แต่เราไม่รู้การเอาพระธรรมมาเป็น เทคโนโลยี มาดับทุกข์ให้กับตัวเองได้
ก็ไม่มีประโยชน์
อย่างตัวเรามีธรรมชาติ ทั้งแท่ง เราเคยเอามันมาดับทุกข์ ให้กับตัวเองได้มั้ยละ
ไม่มีมนุษย์ที่ไหนเอาไปใช้เป็นเลย!
ถ้าไม่ฝึกฝนตนเองให้เข้าใจในธรรมชาติแล้ว
ตัวท่านก็เป็น "ขยะอย่างหนึ่ง" ที่ท่านไม่อยากใช้มัน
แต่ถ้าเราเห็นตัวเราว่า เป็นธรรมชาติ เราก็เอาธรรมชาติของเรา
มาใช้ฝึกฝนตัวเรา ฝึกไปทำไม?
ฝึกเพื่อหนีทุกข์ ไปหาสุข แล้วหนีทุกข์ ไปหาสุขได้อย่างไร?
**เพราะเราไม่รู้จักตัวเอง เราก็สร้างทุกข์ให้ตัวเอง
**แล้วเราจะรู้จักตัวเองได้อย่างไร?
**แล้วตัวเรามันเป็นใคร? ก็เป็น หนุ่ม แก่ ตาย นั้นคือตัวเอง
และสิ่งอื่น ๆ ก็ ใหม่ เก่า แตกสลาย
เราก็เอา หนุ่ม แก่ ตาย / ใหม่ เก่า แตกสลาย
ใส่เข้าไปเป็นข้อมูล สัญญาความจำ เข้าไป
ชีวิตของท่านก็เดินตามทาง "ไม่เที่ยงเกิดดับ"
เพราะการคิด การดำเนินชีวิต ของท่านต้อง "คิด"
เมื่อฐานความคิด มี "ไม่เที่ยงเกิดดับ" การดำเนินชีวิตของท่าน
ก็ดำเนินไปตาม ไม่เที่ยงเกิดดับ (คือธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้)
คือดำเนินไปตามธรรมชาติจริง ๆ ไม่ฝืนธรรมชาติ
อันนี้คือ เรารู้จักความจริงครบถ้วน
ถ้าเราไม่รู้จักตัวเอง เพียงพอ เราก็ใช้ตัวเองดับทุกข์ไม่ได้
แต่ใช้ตัวร่างกายตัวเอง **สร้างทุกข์ให้กับตัวเองตลอดชีวิต**
เพราะไม่เคยเอาตัวเรามาเป็นเทคโนโลยี มาสร้างสุข ดับทุกข์
เอาแต่เทคโนโลยีสร้างแต่ทุกข์ อย่างเช่น
มีผมก็ย้อมผม มีคิ้วก็เขียนคิ้ว มีปากก็ทาลิปสติก ใครจะเถียงมั่ง!
อันนี้คือ เราเอาสิ่งที่เป็นธรรมชาติให้มา ไปใช้อีกทางหนึ่ง
ที่ผิดทาง ที่พระพุทธเจ้าบอก
พระพุทธเจ้ารู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นธรรมชาติ
และธรรมชาตินั้นก็สร้างสุขให้กับตัวเองได้
สร้างอย่างไร?
มีผม ผมก็หนุ่ม แก่ ตาย, แขน ขา ก็หนุ่ม แก่ ตาย
ปากก็หนุ่ม แก่ ตาย ใหม่ เก่า แตก สลาย
ให้เพียงเห็นอย่างนี้ละ ใหม่ เก่า แตกสลาย, หนุ่ม แก่ ตาย,
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
แต่คนที่จะเห็นอย่างนี้ได้ ต้องมี ข้อมูลความจริงเป็นฐาน
ถ้าไม่มีข้อมูล ความจริงเป็นฐานความคิด
จะเห็นไม่ได้ เพราะฐานข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญมาก
ถ้าเราไม่มีฐานข้อมูล จะคิดไม่ได้ทำไม่ได้
เพราะความคิด เป็นส่วนที่สั่ง ให้ร่างกายกระทำ
ถ้าเราไม่คิด จะไม่ทำอะไรเลย, ถ้าคิดแล้วจะทำ
แต่การคิดต้องมีฐานข้อมูลในการคิด
เพราะใจเรามันเป็นธาตุรู้ รู้อย่างเดียว เหมือนโทรศัพท์มือถือ
เป็นธาตุรู้อย่างเดียว ใส่บวก รู้บวก, ใส่ลบ รู้ลบ
ใส่บวก รู้ลบไม่ได้, ใส่ลบ รู้บวกไม่ได้
เพราะหน้าที่ของมันเป็นอย่างนี้
เราต้องเข้าใจว่าชีวิตเรา เริ่มต้นที่ข้อมูลตั้งต้น
ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จุดเริ่มต้นคือที่นี่...
ทำไมถึงต้องตั้งต้น... เพราะสิ่งที่มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้น
สติ จะลากเอาข้อมูลมา "คิด"
คิดแล้วไปสู่การ "กระทำ"
*การกระทำ* มันมี *ผลของการกระทำ* มาเก็บไว้ในใจอีก
บาปอกุศล มันตั้งต้นที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
แล้วเอามาเก็บ ตั้งต้นชีวิต...
จะไปไหน? จะทำอะไร? เริ่มต้นที่ข้อมูลก่อน
ถ้าใส่ข้อมูล *ผิด* ชีวิตก็เดินตามข้อมูล *ผิด* ไปตลอดชีวิต
ถ้าใส่ข้อมูล *ถูก* ชีวิตก็เดินตามข้อมูล *ถูก* เป็นต้น
สิ่งที่มากระทบสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
จะถูกมาเก็บเป็น *ข้อมูล* เป็น สัญญาความจำ ไว้ในใจ
ท่านถึงจำทรัพย์สมบัติของท่านได้ทุกชนิดในบ้าน
และสัญญาความจำอันนี้ละ... มันเป็นตัวตั้งต้น
เหมือนท่านจำรองเท้า ท่านได้ รูปร่างรองเท้าของท่าน
เกิดจากตา แล้วเอามาเก็บไว้เป็นข้อมูลที่ใจ
เมื่อท่านจะไปใส่รองเท้า สติจะลากเอาข้อมูลมาตั้งต้นคิด
ว่ารองเท้าคู่ไหนวะ แต่ถ้าไม่ใส่ข้อมูลรองเท้าไว้ก่อน
จะไม่รู้ว่าคู่ไหน?
ฉะนั้นจุดตั้งต้น และเริ่มต้น มันเป็นวงกลมอย่างนี้
ตั้งต้นที่ *ข้อมูล* ข้อมูลเอาไปใช้ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ไว้ที่ใจ
ใจก็เริ่มต้นเดินไปหาเป็น วงกลม ทุกลมหายใจ
ที่ท่านมีอยู่ วัฏสงสาร เป็นอยู่อย่างนี้
ที่ว่ามนุษย์เกิดมาจากไหน? หาต้น หากอไม่ได้
เพราะเป็นวงกลมอย่างนี้ ถึงไม่รู้ว่ามาจากไหน?
ฉะนั้นสิ่งที่ท่านรู้ว่าจุดเริ่มต้นมาจาก สัญญาความจำ
แปลได้อีกว่า นิสัยสันดาน
นิสัยสันดาน เกิดจากอะไร?
เกิดจาก การกระทบสัมผัสที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ถ้ากระทบบ่อย ๆ มันก็เก็บมาไว้อย่างนี้ ถ้ามันมากขึ้น ๆ
เป็นลักษณะเด่น อย่างเช่น คนที่เก็บความพอใจ ไม่พอใจ
ไว้มาก ๆ เมื่อถูกด่าหน่อยเดียว จะระเบิดตูมเลยนะ
เพราะเขาเก็บไว้มาก!
แต่บางคนเก็บไว้ลึก ด่าอย่างไร? ก็ไม่โกรธ!
พระพุทธเจ้าว่า ทุกข์ เกิดที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เพราะตามสิ่งที่มากระทบสัมผัสไม่ทัน ก็หลงพอใจไม่พอใจ
พอใจ คือโลภ, ไม่พอใจ คือโกรธ, ตามสิ่งกระทบไม่ทัน คือ หลง
อันนี้คือ ข้อมูลในใจตั้งต้นชีวิตของทุกคน
ที่ไม่ได้เป็น อริยบุคคล
ถึงเป็นอริยบุคคล ยังตั้งต้นอยู่
จนได้อรหันต์ ข้อมูลตั้งต้นจึงหมด
แล้วข้อมูลมันเริ่มต้นที่ไหน?
อันนี้เป็นฐานข้อมูลให้คิด หรือข้อมูลสั่งให้ดำเนินชีวิต.
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ท่านก็เห็นความจริงอันนี้
ท่านถึงซ่อมแซมตัวท่านได้ คือแก้ปัญหาชีวิตของท่านได้
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ท่านได้สอน ปัญจวัคคีย์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ปัญจวัคคีย์ เป็นคนธรรมดา เป็นอุบาสกธรรมดา
พอฟังธรรมพระพุทธเจ้าแล้ว โกณฑัญญะ มีดวงตาเห็นธรรม
ก็ได้เป็นอริยบุคคล เหมือนพวกเรา
แล้วโกณฑัญญะก็ขอบวช
พอบวช ก็เป็น *อริยะสงฆ์* องค์แรกที่เกิดขึ้นในวัน *อาสาฬหบูชา*
เมื่อพระพุทธเจ้าเอาพระธรรมคำสอน ที่พระองค์ตรัสรู้
กฎธรรมชาติ ๒ กฎ
ท่านตรัสรู้ว่าโลกจักรวาลนี้ รวมทั้งชีวิตเรา เป็นธรรมชาติทั้งหมด
ธรรมชาติทั้งหมดลงอยู่ใน กฎ ๒ กฎ คือ
กฎไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
อิทัปปัจจยตา หรือ กฎเหตุปัจจัย
ธรรมชาติทั้งหมดลงอยู่ใน ๒ กฎนี้ แล้วธรรมชาติ คืออะไร?
คือความจริง ความจริงของธรรมชาติ คืออะไร?
คือความจริงที่เกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมปรุงแต่งชั่วคราว แล้วแตกสลาย
อันนี้คือความจริง
ท่านเห็นว่า ธรรมชาตินี้เกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมกัน แล้วแตกสลายทั้งหมด
แล้วทำไม? มันมาประชุมกันชั่วคราว แล้วแตกสลาย
เพราะว่ามันเกิดจากเหตุปัจจัย แต่ละอัน มาประชุมกัน
เมื่อมันมาประชุมกัน *นาน* มันก็เลิกประชุม
มันก็แตกสลาย
พระพุทธเจ้าก็เห็น กฎ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ
อิทัปปัจจยตา
ท่านบอกว่าทั้งหมดลงอยู่ใน ๒ กฎ นี้เรียกว่า
ไม่เที่ยงเกิดดับ หรือ ๔ คำนี้คือ ความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
เมื่อท่านตรัสรู้ความจริงอันนี้ ท่านก็รู้ *อริยสัจ ๔*
รู้ ทุกข์ สมุทัย ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ท่านเห็นอริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ท่านก็ไปตรวจสอบ อริยสัจ ๔ อีก ๗x๗ = ๔๙ วัน
ตรวจสอบทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ตรวจสอบอย่างละ ๓ รอบ รวมกันเป็น ๑๒ รอบ
จนมั่นใจว่าไม่มีมนุษย์ เทวดา ที่ไหนจะคัดค้านได้
ท่านบอกทุกข์ ที่เกิดทุกข์ ต้องกำหนดรู้ ว่ามันทุกข์ที่ไหน?
เกิดได้อย่างไร? ต้องกำหนดรู้
ท่านก็บอก ท่านก็กำหนดรู้แล้ว
เห็นทุกข์ก่อน แล้วเห็นทุกข์ให้กำหนดรู้ แล้วท่านก็ตรวจสอบว่า
ท่านกำหนดรู้ยัง กำหนดรู้แล้ว *สมุทัย เหตุของทุกข์*
ท่านควรละ แล้วท่านก็ละได้แล้ว ๓x๓
นิโรธ คือดับทุกข์ คือควรทำให้แจ้ง แล้วท่านก็ทำให้แจ้งแล้ว
มรรค คือทางดับทุกข์ ท่านว่าต้องทำให้เจริญ แล้วท่านก็ทำให้เจริญแล้ว เรียบร้อยแล้ว
ทำให้เจริญทำอย่างไร?
คือ ท่องจำนะ จำไว้ ไม่มีใครแปลได้...
เมื่อท่านเห็น อริยสัจ ๔ ถึง ๓ รอบอย่างนี้แล้ว ท่านก็เห็นว่า
ไม่มี มนุษย์ พรหม มาร ที่ไหนคัดค้านได้
ท่านก็เอามาสอน ปัญจวัคคีย์