สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
(กมฺมุนา วตฺตตีโลโก)
เมื่อคนเรามีการกระทำ ซึ่งเป็นกรรมเกิดขึ้นทุกวัน
ย่อมมีชีวิตเป็นไปตามผลของการกระทำ ก็คือ บุญและบาป เช่นนี้ตลอดชีวิต
ซึ่งบาป หรืออกุศลกรรมนั้น ไม่มีใครสามารถ แก้ หรือตัดได้
บุญและบาป เป็นผลของการกระทำ ที่จะเป็นเหตุให้ผู้กระทำได้รับผลนั้น ๆ
ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ว่า *เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี* เหตุตรงผลเสมอ
*เมื่อกระทำในสิ่งที่เป็นกุศลกรรม ก็จะส่งผลเป็นบุญ คือ ความสุข ความสำเร็จ ความสมปรารถนา
*แต่หากทำในสิ่งไม่ดี อันเป็นอกุศลกรรม ผลที่ออกมาก็จะได้บาป มีแต่ความทุกข์ ความผิดหวัง ทำอะไรก็มีแต่ความล้มเหลว
*เหตุก็ต้องดู ทำบาปแล้ว *เติมบุญให้มาก ๆ ขึ้น บาปก็จะตามไม่ทัน และบุญก็จะส่งผลดีให้กับชีวิต
และการที่จะงดการกระทำบาป แล้วมาเติมบุญได้นั้น
ต้องรู้หลักวิธีการฝึกปฏิบัติ ที่ถูกต้องถูกทางครบถ้วน ในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลที่ฉลาดที่สุด หาบุคคลใดเสมอเหมือนไม่ได้ จึงสอนเรื่องยากที่สุด ให้ง่ายที่สุดได้
สรุปพระธรรมคำสอนของพระองค์ทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ให้นำไปสู่การปฏิบัติเหลือเพียง คำเดียวเท่านั้น คือคำว่า "ไม่เที่ยงเกิดดับ"
ท่องไม่เที่ยงเกิดดับ ปฏิบัติแล้วได้ผลภายใน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี อย่างช้า พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้
คือ การวิปัสสนาภาวนา พิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖
*ให้รู้เห็นสิ่งทั้งปวง ที่มากระทบสัมผัสตัวเรา ในขณะปัจจุบัน
*ตามความเป็นจริง ของโลกและชีวิต
*ว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เกิดดับ มีเหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราว
*ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง
นี่คือ การฝึกปฏิบัติเพื่อ "เจริญปัญญา" แล้วเอาปัญญาที่ได้นี้ ไปดับทุกข์ ในขณะปัจจุบัน ที่ถูกกระทบสัมผัสในทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ