เทวดา อินทร์พรหม ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏสงสาร
*ไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงของท่าน*
การเดินทางชีวิตของคนเรา ที่ไม่มีความรู้ หรือ ปัญญาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ มาประกอบในการดำเนินชีวิต ก็ผิดพลาด
เทวดา อินทร์พรหม ทั้งหลายท่านก็เสียใจ ท่านน่าจะไปได้ไกลกว่านี้ แต่ได้แค่ เทวดา อินทร์พรหม
ยังเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏสงสาร ไม่ใช่เป้าหมายชีวิตของท่าน
ท่านจึงเสียใจ เราจึงไปอ้อนวอนให้ท่านช่วยเหลือ
ท่านยังช่วยเหลือตัวท่าน ให้ดับทุกข์ไม่ได้
แล้วจะช่วยเหลือเราได้อย่างไร
คนที่ไม่รู้ หรืออวิชชา หรือมาร ก็ชวนเราไปอ้อนวอน บวงสรวง
ผีสาง เทวดา อินทร์พรหม คิดว่าสิ่งนั้นจะช่วยให้เราสำเร็จได้
ก็พากันมี *พระพรหมเจ้าที่ *ผีเจ้าที่ *เทวดาเจ้าที่ ไว้ในบ้าน เพื่ออ้อนวอน
แต่ก็ไม่เคยสำเร็จสักที
ไอ้ความไม่สำเร็จของการอ้อนวอน คือ *คนไม่มีปัญญา
เขาอยากประสบผลสำเร็จ แต่เขาไม่รู้ว่าความสำเร็จนั้น จะต้องเกิดจากเหตุปัจจัย แต่เขา *ไม่รู้เหตุ *ไม่รู้ปัจจัย
อ้อนวอนมันได้คำตอบทันที เหมือนเราไปยกมือไหว้ศาลเจ้า
เราก็คิดเอาเองว่า ศาลเจ้าจะช่วยเรา แล้วให้ประสบผลสำเร็จ
มันก็ได้ทันที ได้ความพอใจทันที (บาปอกุศล)
แต่มันไม่ได้ตามที่ต้องการ แต่มันได้ความพอใจเข้าไปแล้ว
ได้ความอิ่มใจ ที่ได้มาขอเทวดา อินทร์พรหมแล้ว อย่างนี้เป็นต้น
ดังนั้นศาสนาพุทธจึงเป็นศาสนาที่แตกต่างกับศาสนาอื่น ตรงที่ว่า
๑. อยากได้อะไรให้ทำเอา คือ ยึดหลักกฎธรรมชาติเป็นหลัก
๒. ประกาศอิสรภาพให้แก่ตัวเราเอง ไม่ต้องไปอ้อนวอนใคร อยากได้อะไร ทำเอาเอง
๓. ใช้ปัญญาประกอบศรัทธา คือ ไม่ศรัทธาโดยไม่มีปัญญาประกอบ
นี่คือ หลักของศาสนาพุทธ
*เมื่อเราเป็นพุทธ เราต้องรู้หลักศาสนาพุทธ ๓ ข้อนี้
หลักการนี้มันได้ผลช้า ไม่ทันใจพวกเรา สู้ไปอ้อนวอน เอาหัวหมู เป็ด ไก่ เซ่นไหว้ เจ้าที่ เทวดา อินทร์พรหม ดีกว่า
และมีความคิดในใจเต็มใจว่า ท่านเหล่านั้นจะช่วยเราได้
แล้วมันก็ไม่ได้อะไร เสียเงิน เสียทอง เสียเวลา เป็นต้น
ศาสนาพุทธเป็นศาสนา ที่ให้กระทำด้วยความเพียร
แต่การกระทำของเราต้องมีปัญญาประกอบ
เพราะธรรมชาติทั้งหลายทั้งปวง
*มีเหตุปัจจัยเป็นแดนเกิด
*มีเหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราว
*ให้เกิดก็เกิด
*ให้ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่
*ให้แตกสลายก็แตกสลาย
นี้คือหลักของธรรมชาติ ถ้าเราไม่มีปัญญาประกอบ
เราก็ไปรอมันมาประชุมกัน รอคอยมันแตกสลาย เป็นต้น
ถ้าเรามีปัญญาประกอบ
เราอยากได้อะไร เราก็หาเหตุปัจจัยมาประชุมกันให้ครบ เราก็ได้ตามนั้น
นี่คือหลักศาสนาพุทธ *หลักของการกระทำที่มีปัญญาประกอบ
ผู้ที่จะมีปัญญาประกอบ จะต้องเป็นคนที่ได้ศึกษาพระธรรมคำสอน ของพระพุทธเจ้า พระอริยะเจ้า หรือสัตบุรุษ
พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้
*ทำเหตุที่ดี ผลก็ได้สิ่งดี* เหตุตรงผลเสมอ
อะไรที่เราทำเหตุให้ครบถ้วน เราก็จะได้สิ่งนั้นให้กับตัวเรา