ฤกษ์ยามในความหมายทางพระพุทธศาสนามีไหม

Last updated: 13 ต.ค. 2562  |  1686 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ฤกษ์ยามในความหมายทางพระพุทธศาสนามีไหม

ฤกษ์ยามในความหมายทางพระพุทธศาสนา 

มีไหมครับ
ไม่มีค่ะ สมมุติขึ้นมาเอง ถูกไหมค่ะ
สาธุ ครับ ดังพระสูตร นี้
ฤกษ์ยามในพระพุทธศาสนา

ปัญหา ทางพระพุทธศาสนามีการสอนให้ถือฤกษ์ถือยามในการทำงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือไม่?

พุทธดำรัสตอบ “...สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย... ด้วยวาจา... ด้วยใจในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลาเช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น  สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย... ด้วยวาจา... ด้วยใจในเวลาเที่ยง เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาเที่ยงที่ดีของสัตว์เหล่านั้น  สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย... ด้วยวาจา... ด้วยใจในเวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาเย็นที่ดีของสัตว์เหล่านั้น...”
สาธุในธรรมค่ะ... ฤกษ์ดีได้ทุกเวลาที่เราประพฤติดีประพฤติชอบ ด้วยกาย วาจา ใจ ในเวลานั่น ๆ (อธิษฐาน) สาธุค่ะ
สังโยชน์ 10 นั้นเป็นดัชนีชี้วัดความเป็นอริยบุคคล
ซึ่งสังโยชน์ ข้อ 3 คือ สีลัพพตปรามาส คือการไม่ประพฤตินอกคำสอนของพระพุทธองค์ 
ดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสแสดง สีลัพพตปรามาส ดังนี้
        ผู้ใดไม่ถือมงคลตื่นข่าว  ไม่ถืออุกกาบาต  ไม่ถือความฝัน  ไม่ถือลักษณะดีหรือชั่ว  ผู้นั้นชื่อว่าล่วงพ้นโทษแห่งการถือมงคลตื่นข่าว ครอบงํากิเลสที่ผูกสัตว์ไว้ในภพ อันประดุจคูกั้นเสียได้ ย่อมไม่กลับมาเกิดอีก (ขุ.ชา. ๒๗/๘๗/๒๘)
        ถ้าแม้นบุคคลจะพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะการอาบนํ้า (ชําระบาป)  กบ เต่า นาค จรเข้ และสัตว์เหล่าอื่นที่เที่ยวไปในแม่นํ้ ก็จะพากันไปสู่สวรรค์แน่นอน... (กล่าวต่อในอีกมุมมองหนึ่งอันน่าพิจารณายิ่งว่า) ถ้าแม่นํ้าเหล่านี้พึงนําบาปที่ท่านทําไว้แล้วในกาลก่อนไปได้ไซร้  (ดังนั้น) แม่นํ้าเหล่านี้ก็พึงนําบุญของท่านไปได้ด้วย (เช่นกัน) (ขุ.เถรี.๒๖/๔๖๖/๔๗๓)
        บุคคลประพฤติชอบเวลาใด  เวลานั้นได้ชื่อว่า  เป็นฤกษ์ดี  เป็นมงคลดี  เป็นเช้าดี  อรุณดี  เป็นขณะดี  ยามดี  และ (นับได้ว่า) เป็นอันได้ทําบูชาดีแล้วในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย  แม้กายกรรมของเขา(นั้น) ก็เป็นสิทธิโชค  วจีกรรมก็เป็นสิทธิโชค  มโนกรรมก็เป็นสิทธิโชค  ประณิธานของเขาก็ (ย่อมต้อง) เป็นสิทธิโชค  ครั้นกระทํากรรม (การกระทําใด ๆ) ทั้งหลายที่เป็นสิทธิโชคแล้ว เขาย่อมได้ประสบแต่ผลที่มุ่งหมายอันเป็นสิทธิโชค (สุปุพพัณหสูตร)
        ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลา ผู้คอยนับฤกษ์อยู่   ประโยชน์เป็นตัวฤกษ์ ของประโยชน์เอง  ดวงดาวจักทําอะไรได้ (หรือโดยพิจารณาว่า ไปเปลี่ยนแปลงดวงดาวได้หรือ?  แต่เปลี่ยนแปลงโดยการทำเหตุให้ดีหรือถูกต้อง  จึงเป็นปัจจัยในสิ่งที่ดี หรือเป็นไปได้ ) (ขุ.ชา ๒๗/๔๙/๑๖ )
ไม่เที่ยงเกิดดับ เริ่มเข้าใจที่ละอย่างแล้วครับขอบคุณมากครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้