พระธรรมคำสอน

ปัจฉิมโอวาท หรือคำสอนครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า... “ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ขอให้เธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่น ให้ถึงพร้อมด้วยด้วยความไม่ประมาทเถิด”

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า การบรรลุโสดาบันปฏิผล ดีกว่า การได้ไปสรวงสวรรค์ ประเสริฐกว่าการได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ประเสริฐกว่าการได้ฌานสมาบัติ  ศาสดาผู้นำศาสนาที่มีสาวกมากมาย เป็นผู้ปราศจากกามราคะด้วยกำลังเจโตวิมุติ ประกอบด้วยกรุณาคุณ  สั่งสอนลัทธิเพื่อเข้าร่วมกับพรหม ทำให้สาวกไปสวรรค์มากมาย  นับว่าประเสริฐมากอยู่แล้ว แต่บุคคลผู้เป็นโสดาบัน แม้ยังมีกามราคะอยู่  ก็ยังประเสริฐกว่าศาสนาเหล่านั้น ยิ่งกว่าการเป็นเอกราชบนพื้นปฐพี  ยิ่งกว่าการไปสรวงสวรรค์ ยิ่งกว่าอำนาจทั่วสรรพโลก  สิ่งประเสริฐล้ำคือ "โสดาปฏิผล หรือ โสดาบันบุคคล"

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร พระพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริงของโลกและชีวิต คือกฎธรรมชาติ ๒ กฎ ๑. กฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ๒. กฎอิทัปปัจยตาปฏิจจสมุปบาท (สิ่งทั้งปวงเกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราว) สรุปว่า "ไม่เที่ยงเกิดดับ"

พระพุทธเจ้า ได้สรุปพระธรรมคำสอนของพระองค์ท่านที่เป็นผลการตรัสรู้ สอนให้กับพระอรหันต์ 1,250 รูป เพื่อให้พระอรหันต์นำไปสั่งสอนมนุษย์ เทวดาต่อไป ให้ละความชั่ว   2. ให้ทำความดี   3. ทำจิตให้ผ่องใส พระอรหันต์จะนำพระธรรมคำสอนไปสอนคน ท่านต้องหาสาเหตุของการละชั่ว, ทำดี, ทำจิตให้ผ่องใส

มรรค (สันสกฤต: มรฺค; บาลี: มคฺค) คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เป็นหนึ่งในอริยสัจ 4 จึงเรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นทางสายกลาง[1] คือเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น[2] ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้[3] สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) หมายถึง ความรู้ในอริยสัจ 4 สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) หมายถึง ความคิดในการออกจากกาม ความไม่พยาบาท และการไม่เบียดเบียน สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง) หมายถึง เจตนาละเว้นจากการฆ่า โจรกรรม และการประพฤติผิดในกาม สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากมิจฉาชีพ การละเว้นจากอาชีพฆ่าสัตว์ อาชีพที่เบียดเบียนผู้อื่น สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) หมายถึง สัมมัปปธาน 4 คือ ความพยายามป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ทำกุศลที่ยังไม่เกิด และดำรงรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) หมายถึง สติปัฏฐาน 4 สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิที่ถูกต้อง) หมายถึง ฌาน 4 เมื่อเทียบกับหลักไตรสิกขา องค์มรรคข้อ 1-2 เป็นปัญญา ข้อ 3-4-5 เป็นศีล และข้อ 6-7-8 เป็นสมาธิ

ประโยชน์ ๓ ประการ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนแก่มวลมนุษย์ ๑. ประโยชน์ปัจจุบัน ๔      ๑. อุฏฐานสัมปทา (อุ) ขยันหมั่นเพียร      ๒. อารักขสัมปทา (อะ) ใช้เงินออกดอกออกผลเป็น      ๓. กัลยาณมิตตตา (กะ) มีเพื่อนดี แต่เราต้องเป็นคนดีก่อน      ๔. สมชีวิตา (สะ) เลี้ยงชีพชอบ ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

พิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา พระพุทธเจ้าตรัสถามความเห็นของปัญจวัคคีย์ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นเป็นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดโต่ง ๒ อย่างนี้ ภิกษุไม่ควรเสพ หรือเข้าไปเกี่ยวข้อง คือ      กามสุขัลลิกานุโยค  กามทั้งหลายหรือความพอใจ หรือความโลภ อีกด้านหนึ่งคือ การทรมานตน อัตตกิลมถานุโยค  หรือความไม่พอใจ หรือความโกรธ ดูกรภิดษุทั้งหลาย ทางสายกลาง ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องที่สุด ๒ อย่างนั้น  ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำให้ญานเกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ข้อมูลสั่งการ เรามองไม่เห็นความผิดพลาดของตนเอง ให้ความสำคัญกับสัญญาความจำ  ไม่เที่ยงเกิดดับ เป็นของหนักมาก ความพอใจไม่พอใจ  หนักกว่าแผ่นดินในโลกนี้  ที่เราไม่สามารถยกมันได้ อนาคามีมรรค

 เราเกิดเรื่องเดือดร้อนเป็นเพราะกรรมล้วน ๆ หรือความประมาท ครับ กรรมของพระพุทธเจ้า ***ครั้งหนึ่งเคยเป็นนายโคบาล ต้อนแม่โคไปสู่ที่หากิน  เห็นแม่โคดื่มน้ำขุ่นจึงห้ามไว้ ด้วยผลแห่งกรรมนั้นในภพสุดท้ายนี้  พระองค์กระหายน้ำ จึงไม่ได้ดื่มตามต้องการ  เพราะเคยให้พระอานนท์ไปตักน้ำมาถวาย  พระอานนท์ไปแล้วไม่ตักมาบอกว่าน้ำขุ่น  ต้องตรัสย้ำให้ไปตักใหม่เป็นครั้งที่สอง  จึงได้น้ำใสกลับมาเพราะน้ำขุ่นนั้นกลับใส 

วันนี้เป็นวันดีที่สุด  เพราะวันนี้เรายังมีลมหายใจ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  ยังเป็นทางเข้าของอาหารใจ หากมีบุญกุศลและปัญญาธรรมมากพอ  วันนี้เรายังพัฒนาฝึกฝนให้อายตนะทั้ง 6  รับสิ่งที่มีคุณค่า  หรืออาหารใจอันมีค่าที่สุด  เป็นอาหารที่จิตใต้สำนึกกระหายที่จะเสพมันมานานนับภพนับชาติไม่ได้

ชีวิตของท่านต้องตั้งสัจจะอธิษฐานว่า >ชาตินี้คือ ชาติสุดท้ายของฉัน >ฉันจะไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก ...เพราะการเวียนว่ายตายเกิดของเรา ...มันมีแต่ทุกข์  ...ทุกข์เพราะ เกิด ...ทุกข์เพราะ แก่ ...ทุกข์เพราะ ตาย

เมื่อศึกษาเรียนรู้พระธรรมคำสอน ของพระศาสดาเอกของโลกแล้ว ท่านจะรู้ซึ้งถึงชีวิตที่มีคุณค่ามาก ความมีคุณค่าคือการที่มีชีวิตอยู่ เมื่อเรารู้ว่าการมีชีวิตอยู่ที่ยิ่งใหญ่ เราจะเกิดปัญญาอย่างไม่ประมาท

สัญญาความจำ หรือนิสัยสันดาน หรือวิบากกรรม ที่เราเก็บไว้ในใจ มันคือสิ่งเลวร้ายทั้งปวง  มันก็ลิขิตเรา  เรียกว่า กรรมลิขิต ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าบอกเราเราก็ไม่รู้ว่า  กรรมลิขิตอย่างไร?  เพราะไม่มีใครรู้  เมื่อท่านได้มาเรียนรู้ กรรมลิขิต ลิขิตอย่างไร? 

ธรรมชาติแยกกันเด็ดขาด ผึ้งอยู่ส่วนผึ้ง แมลงวันอยู่ส่วนแมลงวัน มันจะไม่อยู่ด้วยกันเด็ดขาด!

ฤกษ์ยามในความหมายทางพระพุทธศาสนา  มีไหมครับ ไม่มีค่ะ สมมุติขึ้นมาเอง ถูกไหมค่ะ สาธุ ครับ ดังพระสูตร นี้ ฤกษ์ยามในพระพุทธศาสนา

ผลจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าคือมรรคมีองค์ 8  หรือริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 (หนทางแห่งการดับทุกข์) คือ... 1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) 2 .สัมมาสังกัปปะ (ดำหริชอบ) 3 .ส้มาวาจา (วาจาชอบ)

ในปัจจุบันหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์  ได้ผสมหรือปลอมปนเข้ามาอยู่ในคำสอนของพุทธศาสนามาช้านานแล้ว โดยชาวพุทธไม่รู้ตัว  จึงทำให้ชาวพุทธเข้าใจหลักพุทธศาสนาที่แท้จริงผิดพลาดไปหมด  แล้วก็มีการปฏิบัติที่ผิดพลาดตามไปด้วย  จึงทำให้ชาวพุทธไม่ได้รับประโยชน์จากคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า  คือกลายเป็นว่า ชาวพุทธนั้นมีแต่ชื่อว่าเป็นพุทธ  แต่การปฏิบัติกลับกลายเป็นพราหมณ์กันไปหมดโดยไม่รู้ตัว  และยังยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งที่ตัวเองยึดถือปฏิบัติอยู่นี้ คือ คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าอีกด้วย  อีกทั้งเมื่อมีผู้นำคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้ามาบอกกล่าว  ซึ่งไม่ตรงกับความเชื่อที่ผสมหรือปลอมปนกับพราหมณ์อยู่  จึงทำให้ชาวพุทธไม่ยอมรับ แถมบางคนยังต่อต้านอีกด้วย  ดังนั้นเพื่อทำความเข้าใจว่าพุทธแท้ ๆ นั้นสอนว่าอย่างไร?  และพราหมณ์เขาสอนอย่างไร?  บทความนี้จึงได้สรุปหลักของพุทธกับพราหมณ์ที่แตกต่างกันเอาไว้  เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะได้ศึกษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อศาสนาทั้งสองอย่างถูกต้องต่อไป

การที่เราต้องมาศึกษาเรียนรู้  พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นประจำ  ก็เพื่อมาเสริมเติมแต่งปัญญาของเราให้คมกล้ายิ่งขึ้น  เพราะว่าสภาพสังคมปัจจุบันนี้  สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ  เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์  เราจึงต้องฝึกฝนตนเองให้มีปัญญาที่คมกล้ายิ่งขึ้น  คือ ตามทันสิ่งที่มากระทบสัมผัสเราตลอดเวลา  เพื่อป้องกันไม่ให้การปรุงแต่งเกิดขึ้น  เพราะการปรุงแต่ง  คือ การสร้างทุกข์  เมื่อมันปรุงแต่งแล้ว มันเก็บไว้ในใจเรายาวนาน  ไม่สามารถจะลบทำลายได้ง่าย ๆ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้