ปัญญา ศีล สมาธิ

พระพุทธเจ้าโคตมะได้ตรัสรู้  แล้วได้อบรมสั่งสอนชาวโลกอยู่ถึง 45 พรรษา  คำสอนของพระองค์ท่านมีทั้งหมด 84,000 พระธรรมขันธ์ พระองค์ได้สรุปคำสอนของพระองค์ท่านไว้ว่า “ท่านสอนแต่เรื่องทุกข์และการดับทุกข์เท่านั้น”  แล้วท่านก็สอนต่อไปอีกว่า ทุกข์ของเราเกิดที่ไหนให้ดับที่นั่น และตรัสบอกไว้ว่าทุกข์ของคนเราเกิดที่ ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ  

ทำไมต้องให้รางวัลชีวิตของเราด้วย  ก่อนที่จะให้รางวัลชีวิตของเราให้ถูกต้องตามที่ชีวิตของเราต้องการนั้น  เราต้องรู้จักตัวของเราก่อนว่า  ตัวของเรามีตัว 2 ตัวที่ซ้อนทับกันอยู่  ตัวที่หนึ่งก็คือ “ตัวชีวิต” หมายถึง ร่างกายของเราทั้งหมด   ส่วนตัวที่ 2 ก็คือ “ตัวคน” หรือจิตใจของเรานั่นแหล่ะ  

วิปัสสนาดับทุกข์ได้อย่างไร?  คนเราเกิดมาแล้วต้องการหนีทุกข์ไปหาสุขกันทุกคน  แต่ละคนก็มีวิธีการไปหาสุขแตกต่างกันไป  ตามความคิดเห็นของตนเองบางคนก็หาสุขไปตลอดชีวิต  ยังไม่พบความสุขจริง ๆ  ที่ตัวเองต้องการ  บุคคลที่ประสบความสำเร็จที่หนีทุกข์ไปหาสุขสำเร็จเป็นคนแรก ก็คือ พระพุทธเจ้า

ความคิดเห็นของคนเรา  เป็นเรื่องของนามธรรมหรือ จิตใจ  ไม่สามารถดูด้วยตาได้   ใจของเรามีหน้าที่อยู่ 4 อย่าง คือ   รับ (เวทนา)  จำ (สัญญา) คิด (สังขาร)  รู้ (วิญญาณ) 

การฝึกทำได้ทุกหนทุกแห่งควบคู่กันไปกับการทำงานหรือการดำเนินชีวิตของเราตามปกติ        ให้ฝึกดังนี้ –  เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมาจนกระทั่งหลับ  ตาเห็นรูปอะไร  หูได้ยินเสียงอะไร จมูกได้กลิ่นอะไร  ลิ้นได้รสอะไร  กายกระทบสัมผัสอะไร  ใจคิดนึกอะไร  ฝึกให้รู้ให้เห็นความจริงของโลกและชีวิตนี้

ไตรสิกขาในพระไตรปิฎกที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้  ได้สอนให้กับภิกษุวัชชีบุตรนำไปปฏิบัตินั้น  มีสาเหตุมาจากพระพุทธเจ้าได้กำหนดธรรมวินัยไว้ในขณะนั้น 150 ข้อ  แล้วภิกษุวัชชีบุตรเห็นว่าสิกขามากถึง 150 ข้อ  ตนเองไม่สามารถปฏิบัติได้ทั่วถึง จึงได้เข้าพบกับพระพุทธเจ้าแล้วกล่าวว่า  ตนเองไม่สามารถปฏิบัติตามสิกขาหรือศีล 150 ข้อ ทั้งหมดนั้นได้  พระพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุวัชชีบุตรว่า  ถ้าเธอปฏิบัติศีลสิบขา 150 ข้อไม่ได้ เธอจะปฏิบัติอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ได้ไหม?  ภิกษุวัชชีบุตรบอกว่าถ้า 3 ข้ออย่างนี้ปฏิบัติได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า  ถ้าเธอปฏิบัติ 3 ข้อนี้ 

ความพอใจ  ไม่พอใจ  สรุปเรียกว่า “อวิชชา”  คือความเห็นสิ่งทั้งปวงที่มากระทบสัมผัสตัวเราผิด จึงไม่หลงพอใจพอใจกับสิ่งนั้น  ความพอใจ  ไม่พอใจเกิดขึ้นได้ 6 ทาง  เท่านั้นคือ  ทางตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ  เรียกว่า  “อินทรีย์ 6”  ความพอใจ  ไม่พอใจ จะเกิดขึ้นกับคนที่ไม่เข้าใจ  ไม่ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสรู้บอกทางไว้ให้  ความพอใจเรียกภาษาพระว่า “โลภะ” หรือ “กามสุขัลลิกายุโยค” ซึ่งพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเป็นทางสุดโต่ง  และอีกด้านหนึ่ง  ความไม่พอใจ เรียกภาษาพระว่า “โทสะ” หรือ “อัตตกิลมถานุโยค”  ซึ่งพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเป็นทางสุดโต่งอีกทางหนึ่ง พระองค์ท่านห้ามภิกษุเข้าไปเกี่ยวข้องที่สุดทั้ง 2 ด้านนี้ในพระธรรมจักรกัปปวัตนสูตร

ตลอดเวลาทีผ่านมาหลายร้อยปี  พวกเราชาวพุทธเข้าใจพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าคลาดเคลื่อนมาตลอด  คำว่า  “สติปัญญา”  ในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกก็เช่นกัน  จะเห็นว่าการปฏิบัติธรรมของชาวพุทธในประเทศไทย  ได้มีการอบรมสั่งสอนกันมานานให้ชาวพุทธเจริญสติ และปัญญาตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ตรัสไว้  คือ เอาคำว่าสติไปเจริญ  คือ เราไปฝึกให้เกิดสติรู้เท่าทันอิริยาบถตลอดเวลาที่มีการเคลื่อนไหวหรืออื่น ๆ

คนเราทุกคนเกิดมาต้องดิ้นรนเสาะแสวงหาความพอดีให้กับตัวเองตลอดเวลา  แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จในแต่ละชีวิต  ขาดไปบ้าง เกินไปบ้าง พยายามเสาะแสวงหาไปตลอดชีวิต  และก็ไม่มีใครพบความพอดีให้กับตนเองได้ง่าย ๆ  หรือไม่เคยพบเคยเห็นเคยรู้มาก่อนตลอดชีวิตของตนเองว่าความพอดีของตนเองที่ตนเองต้องการนั้นมันอยู่ที่ไหน

มนุษย์ทุกคนเกิดมามีทางเลือกให้กับตัวเอง 2 ทางเท่านั้น คือ  เลือกทางดับทุกข์ให้กับตนเอง  หรือเลือกทางหลบทุกข์ให้กับตนเอง  แต่ชีวิตนี้เลือกได้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น  ทำไมจึงเป็นอย่างนี้  ที่เป็นอย่างนี้เพราะมนุษย์ทุกคนที่เกิดมาต้องการหนีทุกข์ไปหาสุขกันทุกคน  แต่ละคนก็มีวิธีการไปหาสุขของตนเองแตกต่างกันไปแล้วแต่สติปัญญาของแต่ละคน  บางคนก็ประสบความสำเร็จ  บางคนก็ผิดหวังคละเคล้ากันไปอย่างนี้

การจะปฏิบัติธรรมให้ถูกทางได้นั้นก็มีลักษณะเดียวกับการกระทำใด ๆ  ของเราในทางโลกที่จะทำถูกได้นั้นต้องมีการศึกษาเรียนรู้สิ่งที่เราจะไปทำนั้นให้รู้และเข้าใจในสิ่งนั้น ๆ ให้ดีก่อน   การกระทำของเราในสิ่งนั้นจึงจะถูกต้องครบถ้วน   มีผลสำเร็จเกิดขึ้นตามที่เราได้ตั้งใจไว้  มีเพียงความตั้งใจเฉย ๆ  ไม่มีความรู้ประกอบแล้ว การกระทำของเราไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรมก็ไม่ประสบความสำเร็จ  เพราะเป็นการหลับตากระทำ หรือทำโดยความไม่รู้

เมื่อมีอะไรมากระทบสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  หรืออินทรีย์ 6 แล้ว  ให้ฝึกใช้สติดึง ลากหรือระลึกเอาความจริงของโลกและชีวิตว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยงเกิดดับ เกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราว ซึ่งสรุปเหลือคำเดียวว่า  “ไม่เที่ยงเกิดดับ”  มากั้นขณะกระทบสัมผัสไว้ก่อนทุกครั้งเมื่อถูกกระทบสัมผัส (ตรงผัสสะ) ความจริงเหมือนหน้าปัญญาเหมือนหลัง ลากเอาหน้ามาแล้วหลังก็ตามมา

คนเราส่วนมากเกิดมาต้องการหนีทุกข์ไปหาสุขกันทุกคน แต่ละคนก็พาตัวเองไปหาสุขตามความคิดความเข้าใจของตนเอง ที่คิดว่าทางนี้ทำอย่างนี้คิดอย่างนี้จะนำความสุขสำเร็จมาให้แก่ชีวิตของตนเอง ฉะนั้นจะเห็นว่าแต่ละคนจะมีวิธีการหนีทุกข์ไปหาสุขกันมากมายหลายรูปแบบแตกต่างกัน ลองผิดลองถูกกันเกือบค่อนชีวิตหรือตลอดชีวิตก็ยังหาความสุขจริง ๆ ที่ตนเองต้องการไม่พบ

การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกจำนวน 45 เล่ม   ต้องศึกษาพระธรรมคำสอนของพระองค์ท่านให้จบ 84,000 พระธรรมขันธ์แล้วเข้าใจพระธรรมคำสอนของพระองค์ท่านด้วยว่า พระธรรมคำสอนสูตรนั้น ๆ เป็นพระธรรมคำสอนในส่วนที่เป็นผลการปฏิบัติหรือเหตุของการปฏิบัติของพระองค์ท่าน   คำสอนสูตรนั้นพระองค์ตรัสสอนผู้ใด  สอนอริยบุคคลหรือสอนบุคคลธรรมดาทั่วไป 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้